เรียบเรียงโดย: Jiewfudao
เริ่มเผยแพร่วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 www.jiewfudao.com
骨骼系统 gǔgé xìtǒng ระบบโครงกระดูก Skeletal System

|
骨骼系统ระบบโครงกระดูก หรือระบบโครงร่างกระดูก: เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ เป็นระบบที่มีความซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กระบวนการสร้างกระดูกเริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์และดำเนินอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย มวลกระดูกค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็กและเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุ 30 ปี มวลกระดูกจึงเริ่มลดลง แต่ยังคงทนต่อเนื่องไปจนถึงวัยชรา
|
ระบบโครงกระดูก ประกอบด้วย
|
中文
|
拼音
|
泰文
|
英文
|
骨
|
gǔ
|
กระดูก(แข็ง)
|
Bone
|
软骨
|
ruǎngǔ
|
กระดูกอ่อน
|
Cartilage
|
韧带
|
rèndài
|
พังผืดยึดข้อต่อ; เอ็นยึดข้อต่อ; เอ็นเชื่อมกระดูก
|
Ligament
|
关节
|
guānjié
|
ข้อต่อ
|
Joint
|
หน้าที่หลักของระบบโครงกระดูก มีดังนี้
* ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกายและทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่าง ๆ ให้คงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
* ป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ และปอด รวมไปถึงหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ทอดยาวอยู่ภายในแนวกระดูกจากอันตรายและการกระทบกระเทือนต่าง ๆ
* เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
* เป็นแหล่งสะสมไขมัน ผลิตเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดชนิดต่าง ๆ และยังเป็นแหล่งสำรองของแคลเซียมที่สำคัญ
* เป็นแหล่งสะสมเกลือแร่ที่สำคัญของร่างกาย
กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูกที่มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา เนื้อเยื่อกระดูกประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจน แคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกแข็งแกร่ง รวมถึงเนื้อเยื่อมีชีวิตที่มีการสร้างกระดูกและสลายตัวกระดูกอยู่ตลอดเวลา โดยเซลล์สร้างกระดูก และเซลล์สลายกระดูก เซลล์ทั้งสองตัวนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความสมดุลการเผาพลาญของกระดูก โดยเซลล์สร้างกระดูก จะมีหน้าที่สร้างและทำให้เนื้อเยื่อกระดูกมีแคลเซียมจึงมีหน้าที่สร้างเซลล์กระดูก ในขณะที่เซลล์สลายกระดูก จะดูดซับเนื้อเยื่อกระดูก ทำให้กระดูกสลายตัว
|
คำศัพท์เสริม
|
骨组织
|
gǔ zǔzhī
|
เนื้อเยื่อกระดูก
|
Osseous tissue; Bone tissue
|
胶原纤维
|
jiāoyuán xiānwéi
|
เส้นใยคอลลาเจน
|
Collagen fibers
|
磷酸钙
|
línsuāngài
|
แคลเซียมฟอสเฟต
|
Calcium phosphate
|
ประเภทเซลล์ต่างๆ ของกระดูก
|
.png)
|
骨原细胞
|
gǔyuán xìbāo
|
เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก
Osteogenic cells; Osteoprogenitor cells
|

骨原细胞 เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก: คือ "เซลล์ต้นกำเนิด" ของกระดูก และเป็นแหล่งที่มาของเซลล์สร้างกระดูก(ออสติโอบลาสต์)
|
成骨细胞
|
chénggǔ xìbāo
|
เซลล์สร้างกระดูก(ออสติโอบลาสต์) Osteoblasts
|

成骨细胞 เซลล์สร้างกระดูก(ออสติโอบลาสต์): เรียงตัวเป็นเซลล์ชั้นเดียว เรียงรายคลุมอยู่บนบริเวณพื้นผิวของกระดูก ทำหน้าที่ผลิตหรือหลั่งคอลลาเจน และผลิตสารเคมีที่ร่างกายใช้สร้างกระดูก(类骨质lèigǔzhì ออสติออยด์, Eng: Osteoid) ซึ่งมีผลต่อการควบคุมการทำงานของเซลล์กระดูก(ออสติโอไซต์)
|
骨细胞
|
gǔ xìbāo
|
เซลล์กระดูก(ออสติโอไซต์)
|
Osteocyte
|
.png)
骨细胞เซลล์กระดูก(ออสติโอไซต์): มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์สร้างกระดูก
(ออสติโอบลาสต์) เป็นเซลล์กระดูกที่เจริญเต็มที่ เซลล์นี้จะไม่มีการแบ่งตัวอีก ทำหน้าที่สะสมแคลเซียมไว้ในเนื้อกระดูก
|
破骨细胞
|
pògǔ xìbāo
|
เซลล์สลายกระดูก/ เซลล์ทำลายกระดูก
(ออสติโอคลาสต์) Osteoclasts
|

破骨细胞เซลล์สลายกระดูก หรือเซลล์ทำลายกระดูก(ออสติโอคลาสต์): เป็นตัวสลายกระดูก จะสลายแคลเซียมที่สะสมไว้ที่เนื้อกระดูกออกสู่ระบบไหลเวียนของเลือดเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ
|
|
เนื้อกระดูกซึ่งสร้างโดยเซลล์สร้างกระดูก และมีแร่ธาตุต่างๆ สะสมอยู่ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อทนทาน เรียกว่า “เยื่อหุ้มกระดูก(骨外膜/骨膜gǔwàimó/ gǔmó, Eng: Periosteum)” ชั้นกระดูกเรียงซ้อนกันเป็นวงกลม เรียกว่า “คลองกระดูก(中央管zhōngyāng guǎn, Eng: Central canal)” ซึ่งเป็นที่ทอดผ่านของหลอดเลือด โดยมีคลองฝอยแตกแขนงผ่านเข้าไปในชั้นกระดูก เพื่อให้หลอดเลือดแตกแขนงทอดผ่านไปหล่อเลี้ยงได้
|
ความรู้เพิ่มเติม
|
骨(外)膜
|
gǔ(wài)mó
|
เยื่อหุ้มกระดูก(ภายนอก)
|
Periosteum
|

骨(外)膜 เยื่อหุ้มกระดูก(ภายนอก): เป็นแผ่นเยื่อปกป้องกระดูก ทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อและเอ็นให้ติดกับกระดูกและเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทและหลอดเลือดช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงกระดูก เยื่อหุ้มกระดูกมักจะหนาในคนอายุน้อย แต่ความหนาจะลดลงเมื่อกระดูกเจริญเติบโตเต็มที่ เยื่อหุ้มกระดูกยังช่วยให้กระดูกเจริญเติบโตและสมานตัวได้หลังกระดูกหักอีกด้วย
|
ลักษณะโครงสร้างของกระดูก แบ่งกระดูกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
|

|
1.
|
骨密质
gǔmìzhì
|
กระดูกเนื้อแน่น; กระดูกทึบ; กระดูกแข็ง; เนื้อเยื่อกระดูกชั้นทึบ
Compact Bone; Cortical Bone
|
骨密质กระดูกเนื้อแน่น: เป็นกระดูกชั้นนอกที่มีเนื้อแน่น เชื่อมต่อกันกันเป็นเนื้อเยื่อทึบแข็ง จะพบกระดูกชนิดเนื้อแน่นนี้บริเวณส่วนที่เป็นตัวกระดูกที่เป็นกระดูกยาว(长骨chánggǔ, Eng: Long bones) มีหน้าที่เกี่ยวกับความแข็งแรง คงรูปร่าง การรับน้ำหนัก กระดูกชนิดนี้คิดเป็น 80% ของกระดูกทั้งหมด
|
2.
|
骨松质gǔsōngzhì
|
กระดูกเนื้อฟองน้ำ; กระดูกโปร่ง; กระดูกพรุน; เนื้อเยื่อกระดูกชั้นโปร่ง
Spongy Bone; Cancellous Bone
|
骨松质กระดูกเนื้อฟองน้ำ: เป็นกระดูกชั้นใน มีรูพรุน บาง และโปร่ง เนื้อกระดูกชนิดนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดูกชิ้นเล็ก ๆ มีลักษณะเป็นเสี้ยนกระดูก เรียงตัวกันเป็นร่างแหไม่เป็นระเบียบ ซึ่งหนาแน่นน้อยกว่าและเปราะบางกว่ากระดูกทึบ มักจะพบมากบริเวณปลายทั้งสองข้างของกระดูกยาว ช่องว่างภายในกระดูกเนื้อฟองน้ำ เป็นที่อยู่ของไขกระดูกแดง
(红骨髓hóng gǔsuǐ, Eng: Red Bone Marrow) มีหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการย่อยสลายและสร้างเซลล์กระดูกรวมถึงสร้างเม็ดเลือด คิดเป็น 20% ของกระดูกทั้งหมด
|
|
กระดูก ในร่างกายเราในระยะแรกจะเจริญในรูปของกระดูกอ่อน เมื่อมีอายุมากขึ้น กระดูกอ่อนจะเปลี่ยนเป็นกระดูกที่แข็งแกร่งรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น ยกเว้นบางส่วนที่ยังคงเป็นกระดูกอ่อน เช่น ใบหูปลายจมูก ในเด็กแรกเกิดจะมีกระดูกมากถึง350 ชิ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่กระดูกบางส่วนจะต่อกันเหลือเพียง 206 ชิ้น ซึ่งจำแนกกระดูกออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
|
骨的类型 ชนิดของกระดูก
กระดูกคนเราจะมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกันไป กระดูกแยกตามรูปร่างได้ 5 ชนิด คือ
|

|
1.
|
长骨
|
chánggǔ
|
กระดูกยาว
|
Long bones
|
长骨กระดูกยาว: ลักษณะเป็นท่อยาว มีปลายสองด้านคือ ส่วนหัว(近端骨骺jìnduān gǔhóu, Eng:Proximal epiphysis) และส่วนปลาย(远端骨骺yuǎnduān gǔhóu, Eng: Distal epiphysis) ท่อยาวระหว่างปลาย 2 ด้าน เรียกว่า “ท่อนกลางหรือก้านกระดูก(骨干gǔgàn, Eng:Diaphysis; Shaft)”

ส่วนหัวและส่วนปลายมีรูปทรงที่เคลื่อนไหวประสานกับกระดูกชิ้นใกล้เคียงได้ เนื้อเยื่อชั้นนอกของกระดูกยาวคือกระดูกเนื้อแน่นหรือกระดูกทึบ หนาราว 2-3mm ซึ่งห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มกระดูกภายนอก(骨外膜gǔwàimó, Eng: Periosteum) ด้านในกระดูกทึบคาดด้วยเยื่อหุ้มภายในกระดูก(骨内膜gǔnèimó, Eng: Endosteum) ที่เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ปลายทั้ง 2 ด้านของกระดูกยาวคือชั้นเนื้อเยื่อที่เป็นรูพรุน เรียกว่า “กระดูกเนื้อฟองน้ำ หรือกระดูกโปร่ง” บรรจุไขกระดูกแดง(红骨髓hóng gǔsuǐ, Eng: Red Bone Marrow) ท่อนกลางของกระดูกมีโพรงซึ่งบรรจุไขกระดูกเหลือง(黄骨髓huáng gǔsuǐ, Eng: Yellow Bone Marrow)

กระดูกยาว โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น
- กระดูกยาวแบบมีโพรงไขกระดูกและไขกระดูกพบได้ที่
肱骨 gōnggǔ กระดูกต้นแขน Humerus
桡骨 ráogǔ กระดูกแขนท่อนล่างทางด้านนอก; กระดูกเรเดียส Radius
尺骨 chǐgǔ กระดูกปลายแขนด้านใน Ulna
股骨 gǔgǔ กระดูกต้นขา Femur
胫骨 jìnggǔ กระดูกหน้าแข้ง Tibia
腓骨 féigǔ กระดูกข้างแข้ง Fibula
- กระดูกยาวขนาดเล็ก อาทิ
掌骨 zhǎnggǔ กระดูกฝ่ามือ Metacarpals
指骨 zhǐgǔ กระดูกนิ้วมือ Phalanges
跖骨 zhígǔ กระดูกฝ่าเท้า Metatarsals
趾骨 zhǐgǔ กระดูกนิ้วเท้า Phalanges of toes
- กระดูกยาวแบบไม่มีโพรงไขกระดูก : 锁骨 suǒgǔ กระดูกไหปลาร้า clavicle
.png)
กระดูกชนิดนี้มีไว้สำหรับรับน้ำหนักของร่างกายและเคลื่อนไหวมากกว่ากระดูกชนิดอื่นๆ ซึ่งจะมีมีทั้งหมด 90 ชิ้น
ความรู้เพิ่มเติม: ไขกระดูก (骨髓gǔsuǐ, Eng: Bone marrow) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไขกระดูกแดง และไขกระดูกเหลือง โดยไขกระดูกแต่ละชนิด มีหน้าที่สำคัญในร่างกายดังนี้
|
1.
|
红骨髓
|
hóng gǔsuǐ
|
ไขกระดูกแดง
|
Red Bone Marrow
|
1.红骨髓ไขกระดูกแดง: เป็นเนื้อเยื่อมัยอีลอยด์/ไมอิลอยด์ (髓性组织suǐxìng zǔzhī,Eng: Myeloid tissue) มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเลือดจากเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์(干细胞gànxìbāo,Eng: Stem cell)โดยกระบวนการนี้เรียกว่า “การสร้างเม็ดเลือด (造血zàoxuè, Eng: Hematopoiesis; Hemopoiesis) ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดที่ได้จากกระบวนการนี้ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด

|
红细胞
|
hóng xībāo
|
เซลล์เม็ดเลือดแดง
|
Red blood cells
|
红细胞เซลล์เม็ดเลือดแดง: มีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
|
白细胞
|
bái xìbāo
|
เซลล์เม็ดเลือดขาว
|
White blood cells
|
白细胞เซลล์เม็ดเลือดขาว: มีด้วยกันหลายชนิด แต่ทุกชนิดมีหน้าที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ
|
血小板
|
xuèxiǎobǎn
|
เกล็ดเลือด
|
Platelets
|
血小板เกล็ดเลือด: มีหน้าที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว ป้องกันภาวะเลือดออกมากผิดปกติ
|
|
2.
|
黄骨髓
|
huáng gǔsuǐ
|
ไขกระดูกเหลือง
|
Yellow Bone Marrow
|
2.黄骨髓ไขกระดูกเหลือง: เป็นเนื้อเยื่อไขมัน มีสีเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเซลล์ไขมัน (脂肪细胞zhīfáng xìbāo, Eng: Adipocyte; Fat cell) พบได้ในโพรงไขกระดูก (髓腔suǐqiāng, Eng: Medullary cavity)ท่อนกลางหรือส่วนกลางของกระดูกยาว โดยร่างกายจะนำไขมันที่สะสมไว้นี้มาใช้เป็นพลังงานเมื่อจำเป็น รวมถึงในกรณีที่มีการสูญเสียเลือดอย่างมาก ร่างกายสามารถเปลี่ยนไขกระดูกเหลืองเป็นไขกระดูกแดงเพื่อเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดแดงได้

เมื่อเราอายุมากขึ้น ไขกระดูกแดงจะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยไขกระดูกเหลือง นั่นทำให้ในร่างกายของผู้ใหญ่มีไขกระดูกเหลืองมากกว่าไขกระดูกแดงนั่นเอง
|
|
2.
|
短骨
|
duǎngǔ
|
กระดูกสั้น
|
Short bones
|

短骨 กระดูกสั้น: มีลักษณะเป็นทรงลูกบาศก์ขนาดเล็ก หรือทรงอื่นๆ ประกอบด้วยกระดูกทึบ ตรงกลางเป็นเนื้อฟองน้ำหรือกระดูกโปร่ง ไม่มีส่วนลำ เป็นกระดูกที่อยู่ในส่วนการเคลื่อนไหวไม่มาก เช่น กระดูกข้อมือ(腕骨 wàngǔ, Eng: Carpals) กระดูกข้อเท้า
(跗骨 fūgǔ, Eng: Tarsals) เป็นต้น กระดูกสั้นจะมีทั้งหมด 30 ชิ้น
|
|
3.
|
扁(平)骨
|
biǎn(píng)gǔ
|
กระดูกแบน
|
Flat bones
|
扁(平)骨กระดูกแบน: มีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันไป มีลักษณะเป็นแบบแผ่นแบนกว้างออกไป ประกอบด้วยกระดูกเนื้อแน่นหรือกระดูกทึบ 2 แผ่นเชื่อมติดกัน ตรงกลางคือเนื้อฟองน้ำหรือกระดูกโปร่ง
.png)
กระดูกชนิดนี้จะช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับอันตรายง่าย ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระดูกหน้าอก และกระดูกสะโพก เป็นต้น กระดูกแบนมีทั้งหมด 40 ชิ้น

|
คำศัพท์เสริมจากรูปภาพ
|
额骨é gǔ กระดูกหน้าผาก Frontal bone
.png)
|
枕骨zhěngǔ
กระดูกท้ายทอย Occiptal bone

|
顶骨 dǐnggǔ กระดูกข้างขม่อม; กระดูกข้างศีรษะ Parietal bones
.jpg)
|
泪骨lèigǔ กระดูกถุงเบ้าตา;
กระดูกข้างถุงน้ำตา Lacrimal bones
|
鼻骨bígǔ กระดูก(สัน)จมูก Nasal bones

|
犁骨 lígǔ กระดูกกันโพรงจมูก; กระดูกตรงกลางจมูกภายใน Vomer bone

|
肩胛骨jiānjiǎgǔ กระดูกสะบัก Scapula

|
胸骨xiōnggǔ กระดูกหน้าอก Sternum

|
肋骨 lèigǔ กระดูกซี่โครง Ribs

|
髋骨kuāngǔ กระดูกสะโพก Hip bone
|
|
4.
|
不规则骨
|
bùguīzé gǔ
|
กระดูกรูปร่างแปลก; กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน; กระดูกที่มีรูปร่างพิเศษ Irrigular bone
|
不规则骨กระดูกรูปร่างแปลก; กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน หรือกระดูกที่มีรูปร่างพิเศษ: จะมีรูปร่างแปลก ๆ ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ กระดูกขากรรไกร กระดูกโคนลิ้น กระดูกหู กระดูกใบหน้า เป็นต้น กระดูกชนิดนี้มีแง่ มีเหลี่ยมหรือช่องโค้งไปมามากเพื่อให้เหมาะกับการประกอบเข้าได้กับกระดูกชิ้นอื่นที่เป็นโครงร่างของร่างกาย กระดูกชนิดนี้มีทั้งหมด 46 ชิ้น

|
คำศัพท์เสริมจากรูปภาพ
|
筛骨 shāigǔ กระดูกเอทมอยด์;
กระดูกขื่อจมูก; กระดูกส่วนบนช่องจมูก Ethmoid

|
腭骨 è gǔ
กระดูกเพดานปาก Palatine

|
下鼻甲 xià bíjiǎ
กระดูกก้นหอยของจมูกชิ้นล่าง
Inferior nasal concha

|
舌骨 shégǔ
กระดูกโคนลิ้น Hyoid

|
蝶骨 diégǔ กระดูกรูปผีเสือ Sphenoid
.jpg)
|
颞骨 niègǔ กระดูกขมับ Temporal

|
颧骨 quángǔ
กระดูกโหนกแก้ม Zygomatic

|
上颌骨 shàng hégǔ
กระดูกขากรรไกรบน Maxilla

|
下颌骨 xià hégǔ
กระดูกขากรรไกรล่าง Mandible

|
椎骨 zhuīgǔ
(ข้อ)กระดูกสันหลัง Vertebrae

|
骶骨 dǐgǔ กระดูกกระเบนเหน็บ Sacrum

|
尾骨 wěigǔ กระดูกก้นกบ Coccyx

|
|
5.
|
籽骨
|
zǐgǔ
|
กระดูกเซสซามอยด์;
กระดูก(ที่มีรูปร่างคล้าย)เมล็ดงา
Sesamoid bone
|
种子骨
|
zhǒngzi gǔ
|
圆骨
|
yuángǔ
|
.jpg)
种子骨; 籽骨; 圆骨กระดูกเซสซามอยด์ หรือกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดงา: พบได้ที่บริเวณเข่าและเท้า จัดเป็นกระดูกแบบสั้นรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นกระดูกที่ฝังตัวอยู่ภายในกล้ามเนื้อหรือเอ็นใกล้กับพื้นผิวข้อต่อ มีหน้าที่ลดการเสียดสีของข้อต่อ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ “กระดูกสะบ้า” ที่ฝังอยู่ในเอ็นของบริเวณเข่า เป็นต้น
|

|

|
แหล่งอ้างอิง:
https://training.seer.cancer.gov/anatomy/skeletal/tissue.html
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/มารู้จักโรคกระดูกพรุนก%2F
https://nachuakpit.ac.th/client-upload/np/uploads/files/บัตรเนื้อหาที่%203%20เรื่องระบบกระดูก.pdf
http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PE244(48)/PE244-4.pdf
https://hdmall.co.th/blog/health/skeletal-system/
https://ngthai.com/science/33254/human-bones-skeletal-system/
https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2555/ichem30355tp_ch2.pdf
https://hub.taitamdbeautyacademylondon.com/wp-content/uploads/2022/04/บทที่-4-ระบบกระดูก-และข้อต่อ-ตอนที่-1-บทนำ.pdf
https://th.wikipedia.org/wiki/กระดูก
https://cj.sina.com.cn/articles/view/2094942911/7cde4abf01901d2z8
https://wenku.baidu.com/view/dc2c07f36729647d27284b73f242336c1eb930f0.html?_
wkts_=1743069597969&bdQuery=膜内骨化Endochondral+ossification&needWelcomeRecommand=1
https://health.baidu.com/m/detail/ar_5666835857794970834
https://mp.weixin.qq.com/s?__biz=MzAxNzUwNzUxMg==&mid=2247490298&idx=5&sn
=a93a56fd6c4629ba72db9e945a991d63&chksm=9be52f2dac92a63b31f4c13e193d7727
ea8c51d28383b7c1110817d0cfcb86edc740f780ceef&scene=27
https://ditki.com/course/gross-anatomy/skeletal-system/embryology-essentials/1150/bone-development/notes
https://mp.weixin.qq.com/s?__biz=MzA3MzA2MDQ5NQ==&mid=204550394&idx=2&sn=
804bf76e404f4abf73b378018e1af230&chksm=16d1491a21a6c00c136c9d27d14dd029fa
27428f29f85d6524238ab52db08bffe114fba3fc2b&scene=27
https://open.oregonstate.education/aandp/chapter/6-4-bone-formation-and-development/
https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms/def/osseous-tissue
https://www.gpoh.de/kinderkrebsinfo/content/diseases/solid_tumours/osteosarcoma/bone
_structure___function/bone_structure/index_eng.html
http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/histology/unit04/html/bone03.html
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/มารู้จักโรคกระดูกพรุนก%2F
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/46768/
https://blog.csdn.net/GUAGUA10086/article/details/144087753
https://sci.bsru.ac.th/sciweb/Download/subject/HealthandBeauty/chap-01-2.pdf
https://www.histology.leeds.ac.uk/bone/bone_cell_types.php
https://www.mountsinai.org/health-library/special-topic/periosteum
https://np.thai.ac/client-upload/np/uploads/files/ระบบกระดูก(1).pdf
https://nachuakpit.ac.th/client-upload/np/uploads/files/บัตรเนื้อหาที่%203%20เรื่องระบบกระดูก.pdf
https://wenku.baidu.com/view/eb24ce45a2c7aa00b52acfc789eb172ded6399b7.html?_
wkts_=1744005314206&bdQuery=Long+bones+Short+bones+Flat+bones&need
WelcomeRecommand=1
https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/มารู้จัก-ภาวะกระดูกหัก%2F
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1805632348570896917&wfr=spider&for=pc
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2484253195205670&id=1602383560059309
&set=a.1813031588994504&locale=th_TH
https://baike.baidu.com/item/淋巴造血系统/4712573
https://www.bilibili.com/opus/436008862099801136
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.394659183973289.1073741847.39341143
0764731&type=1
https://anatomyqa.com/bone-general-anatomy/
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Nasal_bone_anterior.png
https://en.wikipedia.org/wiki/Hip_bone
https://en.wikipedia.org/wiki/Frontal_bone
https://simple.wikipedia.org/wiki/Lacrimal_bone
https://www.getbodysmart.com/skull-cranial-bones/parietal-bone-anatomy/
https://www.craniosacralboulder.com/post/bone-by-bone-vomer
https://myfamilyphysio.com.au/scapula-stability/
https://www.kenhub.com/en/library/anatomy/sternum
https://en.wikipedia.org/wiki/Rib
https://biologydictionary.net/ethmoid-bone/
https://kr.freepik.com/premium-photo/inferior-nasal-concha-is-one-three-paired-nasal-conchae-nose_146481027.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Hyoid_bone
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Sphenoid_bone.png
https://en.wikipedia.org/wiki/Temporal_bone
https://en.wikipedia.org/wiki/Zygoma_fracture
https://en.wikipedia.org/wiki/Mandible
https://en.wikipedia.org/wiki/Maxilla
https://en.wikipedia.org/wiki/Thoracic_vertebrae
https://en.wikipedia.org/wiki/Sacrum#/media/File:Sacrum_-_animation00.gif
https://tivolichiropractic.co.uk/coccydynia-coccyx-pain/
https://theory.labster.com/sesamoid_bones_los/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK578171/
https://en.wikipedia.org/wiki/Pisiform_bone