วันพุธที่ 2 เมษายน 2557 www.jiewfudao.com
“หลิว” เป็นคำไทยที่ทับศัพท์มาจากภาษาจีนว่า “หลิ่ว” สำหรับชาวจีนแล้ว คำว่า หลิ่ว ซึ่งรวมถึงใบหลิวและต้นหลิว เป็นพืชสิริมงคลสำหรับการกราบไหว้บูชาพระเช่นเดียวดอกบัวในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
การเลือกใช้กิ่งหลิว, ใบหลิว และต้นหลิว เป็นสัญลักษณ์มงคลนั้น มาจากสำเนียงอ่านคำว่า “หลิ่ว” ออกเสียงใกล้เคียงกับ “หลิว” ที่แปลว่า เหลือ, เหลือไว้ ในประเด็นนี้น่าสนใจยิ่งตรงที่คนจีนมักชอบเสียงอันเป็นมงคลนามมาแต่ไหนไร ดังนั้น อะไรก็ตามที่ได้มาแล้วนั้นยังเหลือไว้ให้เราตลอดไป ใช้อย่างไรก็ไม่มีวันหมด ด้วยเหตุนี้หลิวจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ,ความสุข,ความร่ำรวยที่หลงเหลือเอาไว้ (เป็นความมงคลที่ไม่มีวันหมดแล้วยังมีเหลือไว้อีกในภายหลัง)
นอกจากนี้ “หลิว” ยังเป็นสัญลักษณ์ของการได้รับการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ดังนั้น หากในภาพวาดจิตรกรรมวาดเป็นรูปต้นหลิวกับดอกโบตั๋น ก็จะหมายความว่า “ขอให้ท่านมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงๆ และร่ำรวยเงินทอง” หากใช้ต้นหลิวกับต้นสน ก็จะหมายความว่า “ขอให้ท่านได้เลื่อนยศตำแหน่ง และมีอายุที่ยืนยาว”
กล่าวกันว่า ในพระหัตถ์ของเจ้าแม่กวนอิมจะมีกิ่งหลิวและใบหลิวอยู่ในแจกันตลอดเวลา หลิวจึงเป็นพืชวิเศษที่ชาวจีนเคารพบูชา เมื่อเจ้าแม่กวนอิมประทานพรใดๆก็จะใช้กิ่งหลิวนั้นประพรมน้ำให้แก่ผู้รับ น้ำจากใบหลิวจึงเป็นน้ำศักด์สิทธิ์(น้ำมนต์)ที่สร้างความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต
ในอดีตนั้น “หลิว” ยังเป็นสัญลักษณ์ของการอวยพรให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานสมัยก่อนเมื่อผู้ใดที่สอบเข้ารับราชกาลได้ ก่อนเดินทาง ญาติมิตรและชาวบ้าน ก็จะนิยมนำกิ่งหลิวมาให้ที่หน้าประตูเมืองทางทิศตะวันออก เป็นความหมายถึง “การอวยพรให้มีความสำเร็จในการรับราชกาล และขอให้ได้รับการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งในเร็ววัน”
ในภาพจิตรกรรมเชิงสัญลักษณ์ของหลิว จะแสดงลำต้นที่โค้งโน้มลง กิ่งที่โน้มเอียงแลดูสุภาพและงดงาม ในบทกวีจีนโบราณมักนิยมนำหลิวมาเปรียบเทียบกับความงามของหญิงสาว เช่น ขนคิ้วที่โค้งเรียว ดั่งใบหลิว หรือเอวที่เล็กดั่งหลิว เป็นต้นรวมทั้งยังอุปมัยเปรียบเทียบกับดรุณี (เด็กสาว) ว่าเหมือนหลิวใบอ่อนที่งดงามชวนมอง
ผู้พิมพ์บทความ : ด.ช.พงษกฤต กวยานนท์
อ้างอิงจาก :
- หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล
- http://www.exam58.com/gspt/2986.html
- http://www.yocity.cn/view/13099.html