诸葛亮 จูเก่อเลี่ยง
วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 www.jiewfudao.com

จูเก่อเลี่ยง(诸葛亮)เป็นนักการเมือง(政治家)และนักการทหาร(军事家)ที่ยอดเยี่ยม
จูเก่อเลี่ยง สมญานามข่งหมิง (ขงเบ้ง孔明) มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่อหลง(卧龙) ซึ่งหมายความว่า มังกรที่นอนอยู่ เป็นคนหลางหยาหยางตู (琅呀阳都)(อำเภอหยีหนัน沂南 มณฑลซานตง山东ในปัจจุบัน)โดยกำเนิด เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคน จูเก่อเลี่ยงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
ภายหลังจูเก่อเลี่ยง ได้อาศัยอยู่ที่หลงจง(隆中) ที่นั่น เขาได้อ่านหนังสือจำนวนมหาศาล ด้วยการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด เขาได้ศึกษาความรู้รอบด้าน และเชี่ยวชาญยุทธวิธีในการศึกสงคราม เขามีวิสัยทัศน์กว้างไกล ปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น จูเก่อเลี่ยงยังมีความสนใจในการสังเกตและวิเคราะห์สภาพสังคม และสะสมความรู้ด้านการบริหารประเทศและการบัญชาทหารอย่างสมบูรณ์

เฉาเชา(曹操) ซุนฉวน (ซุนกวน孙权)
ต่อมาเฉาเชา(曹操)ได้รวมภาคเหนือของจีนเข้าไว้ด้วยกันและพร้อมที่จะยกพลไปสู่ภาคใต้เพื่อรวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ซุนฉวน (ซุนกวน孙权)ได้มีอำนาจแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนกลางและตอนล่าง(长江中下游) ส่วนหลิวเป้ย(刘备)ประจำอยู่ที่เมืองจิงโจว(荆州)มีอำนาจอ่อนแอที่สุด เขาจึงได้ไปเชิญจูเก่อเลี่ยงถึง 3 รอบ เพื่อขอความช่วยเหลือจากจูเก่อเลี่ยง ซึ่งขณะนั้นมีอายุแค่ 27 ปี จูเก่อเลี่ยงได้วิเคราะห์สถานการณ์ในแหล่งหล้าให้หลิวเป้ยฟังอย่างละเอียดครบถ้วน และเสนอยุทธวิธีโดยให้ร่วมมือกับซุนฉวนเพื่อโจมตีเฉาเชาด้วยกัน หลังจากได้ฟังการวิเคราะห์ที่แจ่มแจ้งลึกซึ้งของจูเก่อเลี่ยงแล้ว หลิวเป้ยเข้าใจทันที่ และคิดว่าเขาเป็นบุคลากรที่หายาก จึงได้เชิญเขาออกไปช่วยเหลือตนเองเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นด้วยความจริงใจ

หลิวเป้ย(刘备)
ต่อมา หลิวเป้ยได้ชัยชนะสงครามชื่อปี้(赤壁之战) โดยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของจูเก่อเลี่ยง จึงสามารถขยายอำนาจของตนได้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

สงครามชื่อปี้(赤壁之战)
ไม่นานหลังจากหลิวเป้ยตั้งตนเป็นกษัตริย์แล้ว เขาก็ป่วยตายที่เมืองไป๋ตี้เฉิง(白帝城) ก่อนสิ้นลมหายใจ หลิวเป้ยได้มอบอำนาจของก๊กสู่(属国)ให้กับจูเก่อเลี่ยง จูเก่อเลี่ยงได้ช่วยเหลือกษัตริย์องค์ใหม่หลิวฉัน(刘禅) บุตรชายของหลิวเป้ยอย่างเต็มที่ ขณะนั้น ชนกลุ่มน้อยทางตะวันตกเฉียงใต้ถือโอกาสนี้ก่อการกบฏ เมื่อปี ค.ศ.225 จูเก่อเลี่ยงได้นำกองทัพลงใต้ด้วยตนเองใช้กลไกระงับกรณีพิพาทลงอย่างสันติ ยังได้เป็นที่เชื่อถือของประมุขเมิ่งฮั่ว(孟获)ของชนกลุ่มน้อยด้วย หลังจากนั้น จูเก่อเลี่ยงได้แต่งตั้งประมุขชนกลุ่มน้อยเป็นผู้บริหารผู้คนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างก๊กสู่กับชนกลุ่มน้อยจึงพัฒนาได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน เขายังปฏิบัติการปฏิรูป คัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ ส่งเสริมการก่อสร้างระบบชลประทานและการพัฒนาเกษตรกรรมและกำหนดระเบียบวินัยกองทัพให้เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้ก๊กสู่รอดพ้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็ว

หลิวฉัน(刘禅) เมิ่งฮั่ว(孟获)
ต่อมา เพื่อการรวมจีนเป็นเอกราช จูเก่อเลี่ยงเดินทัพไปโจมตีก๊กเว่ย(魏国)ทางเหนือ 6 ครั้ง แต่ล้วนประสบความล้มเหลว ในการโจมตีก๊กเว่ยครั้งสุดท้าย จูเก่อเลี่ยงป่วยตายในค่ายทหารที่อู่จั้งหยวน(五丈原) ด้วยเหตุที่เหน็ดเหนื่อยเกินไป
ในสายตาของชาวจีน จูเก่อเลี่ยงเป็นคนที่มีสติปัญญา เรื่องราวของเขาเป็นที่เล่าสู่กันฟังอย่างกว้างขวาง
อ้างอิงจาก
· หนังสือ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ประเทศจีน (中国历史常识)” – The Overseas Chinese Affairs Office of the State Council / The Office of Chinese Language Council International. – สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
· http://th.wikipedia.org
· http://audio.cnr.cn/html/ItemId65/2009-03-19/201575.html
· http://caoxiao843190.blog.163.com/blog/static/2878619520074128712504/
· http://game.qhnews.com/GameZone/cangtian/npc10.htm
· http://www.yiyuanyi.org/plus/view.php?aid=37090
· http://blog.sina.com.cn/s/blog_60c4ad7b0100jrrt.html
· http://naruto34679.blog.163.com/
· http://www.e3ol.com/biography/html/%E5%AD%9F%E8%8E%B7/