วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 www.jiewfudao.com

หวางซีจือ 王羲之
หวางซีจือ 王羲之 (ราวปี ค.ศ.303-361) เป็นคนมณฑลซานตง山东โดยกำเนิดเป็นนักอักษรศิลป์จีนที่ดีเลิศคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก东晋 คนรุ่นหลังได้ยกย่องเขาให้เป็นนักอักษรศิลปืจีนมือเอก书圣

มาดามเว่ย 卫夫人
หวางซีจือเมื่อยังเป็นหนุ่มเคยเป็นลูกศิษย์ของมาดามเว่ย卫夫人 ต่อมาได้ท่องเที่ยวไปตามภูเขาเรืองนามและแม่น้ำสายใหญ่ต่าง ๆ และได้ศึกษาเลียนแบบศิลาจารึกของนักอักษรศิลป์จีนสมัยโบราณ หวางซีจือได้ฝึกเขียนพู่กันจีนด้วยความขยันหมั่นเพียร มีเรื่องเล่าว่า เขาเคยฝึกเขียนพู่กันจีนที่สระน้ำของศาลาหลานถิง兰亭 ที่อำเภอเซ่าซิง 绍兴มณฑลเจ้อเจียง浙江ตลอดทั้งวันทั้งคืน จนขนาดที่ทำให้น้ำใสในสระกลายเป็นสีดำของหมึก ในที่สุดเขาได้พัฒนาลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นมาสิงซู行书และเฉ่าซู 草书(ซึ่งเป็นทำนองการเขียนพู่กันจีนสองชนิด) ของหวางซีจือได้มีบทบาทต่อคนรุ่นหลังอย่างมาก ศิลาจารึกการเขียนพู่กันจีนที่เรืองนามของเขามี "หลานถิงจี๋สวี้兰亭集序" "ขว้ายเสวี่ยสือถิงเถี่ย快雪时晴帖"ฯลฯ พระเจ้าถังไท่จง唐太宗ได้ทรงให้ความสำคัญแก่ผลงานอักษรศิลป์จีนของหวางซีจือ และทรงคัดเลือกตัวอักษร 1 พันคำจากผลงานของเขา และทรงเรียบเรียงเป็นตำรา "อักษรจีนโบราณหนึ่งพันคำ古千字文" ให้นักเรียนทั้งหลายได้ศึกษา

"หลานถิงจี๋สวี้兰亭集序"

ขว้ายเสวี่ยสือถิงเถี่ย快雪时晴帖

อักษรสิงซู(行书)เป็นรูปแบบตัวอักษรที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอักษรข่ายซูและอักษรเฉ่าซู เกิดจากการเขียนอักษรตัวบรรจงที่เขียนอย่างหวัดหรืออักษรตัวหวัดที่เขียนอย่างบรรจง อาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวอักษรกึ่งตัวหวัดและกึ่งบรรจง อักษรสิงซูกำเนิดขึ้นในราวปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รวบรวมเอาปมเด่นของอักษรข่ายซูและเฉ่าซูเข้าด้วยกันอักขระโบราณและอักษรปัจจุบัน

‘อักษรเฉ่าซู’ (草书)อย่างเป็นทางการ (คำว่า ‘เฉ่า’ ในภาษาจีนหมายถึง อย่างลวก ๆหรืออย่างหยาบ) อักษรเฉ่าซู เกิดจากการนำเอาลายเส้นที่มีแต่เดิมมาย่นย่อเหลือเพียงขีดเส้นเดียว โดยฉีกออกจากรูปแบบอันจำเจของกรอบสี่เหลี่ยมในอักษรจีน หลุดพ้นจากข้อจำกัดของขั้นตอนวิธีการขีดเขียนอักษรในแบบมาตรฐานตัวคัดหรือข่ายซู ในขณะที่อักษรข่ายซูอาจประกอบขึ้นจากลายเส้นสิบกว่าสาย แต่อักษรเฉ่าซูเพียงใช้ 2 – 3 ขีดก็สามารถประกอบเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกันได้ |

กู้ข่ายจือ顾恺之
กู้ข่ายจือ顾恺之 (ราวปี ค.ศ.345-409) เป็นจิตรกรที่ยอดเยี่ยมในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก คนรุ่นหลังได้ยกย่องเขาเป็นหนึ่งใน 4 บรรพบุรุษแห่งจิตรกรซึ่งงประกอบด้วย ลู่ทั่นเวย陆探微 จางเซิงเหยา张僧繇และอู๋เต้าจึ吴道子 เขาเคยเที่ยวทั่วภาคใต้ของประเทศจีน และได้สะสมข้อมูลในการวาดภาพไว้มากมาย

จางเซิงเหยา张僧繇 ลู่ทั่นเวย陆探微

อู๋เต้าจึ吴道子
ภาพวาดตัวบุคคลของกู้ข่ายจือมีความยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ เขายืนยันเปิดเผยความลับที่ฝังอยู่ในจิตใจด้วยแววตาของตัวบุคคลนั้น เขาเคยได้วาดภาพฝาผนังที่วัดแห่งหนึ่ง วาดตัวบุคคลเสร็จแล้วเหลือส่วนลูกตาเพียงที่เดียวที่ไม่วาด เมื่อผู้คนมาเยี่ยมชม เขาจึงวาดลูกตาในขณะนั้น ตัวบุคคลเสมือนตัวจริง มีชีวิตชีวาขึ้นทันที เป็นที่น่าเสียดาย ผลงานของกู้ข่ายจือล้วนได้สูญหายไปเป็นเวลานานแล้ว ปัจจุบันได้รักษาไว้ภาพวาดฉบับจำลองของกู้ข่ายจือที่คนสมัยโบราณเลียนแบบไว้ เช่น "นวี๋สื่อเจินถูจ้วน女史箴图卷" "ลั่วเสินฟู่ถูจ้วน洛神赋图卷" และ "เลี่ยหนี่เหรินจื้อถูจ้วน列女仁智图卷"

นวี๋สื่อเจินถูจ้วน女史箴图卷

ลั่วเสินฟู่ถูจ้วน洛神赋图卷

เลี่ยหนี่เหรินจื้อถูจ้วน列女仁智图卷
อ้างอิงจาก
· หนังสือ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศจีน (中国历史常识)” – The Overseas Chinese Affairs Office of the State Council / The Office of Chinese Language Council International. – สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
· http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/9/0006-1.html
· http://honglaoshi.com/webboard/index.php?topic=453.0
· http://www.longdan.org/click/deyuguan/2011/0817/2690.html
· http://forum.ziy.cc/t14997/
· http://www.yingbishufa.com/ldbt/7079.HTM
· http://www.neeu.com/news/2008-08-24/7274.html
· http://www.china-n.com/news/sfxs/10720141833I539IIG81KC1IA8B59HF.htm
· http://www.viitimes.com/culture/2533.htm
· http://tech2.npm.gov.tw/literature/beauty/beauty.asp?B=125
· http://njdfz.nje.cn/HTMLNEWS/962/2008623210701.htm
· http://www.yuzhou.net.cn/renwu/View.asp?id=11429
· http://wxy.jnu.edu.cn/bks/Get/meishudt/zhongguosh/221641411.htm
· http://confucianism.xx6xx.cn/html/yishu/750096.html
· http://art.dahe.cn/msjs/gh/200211/2047929.html