เครื่องหมายเส้นคั่นยาว(—) ใช้เพื่อบอกว่า ข้อความต่อไปนี้เป็นการอธิบายเพิ่มเติม หรือการเสริมความหมายเครื่องหมายนี้จะยาวเท่ากับสองตัวอักษรจีน และขีดอยู่ในระดับกึ่งกลางตัวอักษรพอดี วิธีใช้เครื่องหมายเส้นคั่นยาวมีดังนี้
1. แสดงให้รู้ว่าข้อความต่อไปนี้เป็นคำอธิบายเชิงหมายเหตุหรือความหมายเพิ่มเติม เช่น
中国清代出现了一个杰出的文学家,他就是《红楼梦》的作者—曹雪芹。
จีนสมัยราชวงศ์ชิง มีนักประพันธ์ดีเด่นคนหนึ่ง เขาก็คือ เฉาเสวี่ยฉิน ผู้ประพันธ์นิยายเรื่อง “ความฝันในหอแดง”
2. แสดงให้รู้ว่าประเด็นเปลี่ยนไปแล้ว เช่น
我也知道补过的方法:送他风筝,赞成他放,劝他放,我和他一起放。我们嚷着,跑着,笑着。— 然而他其时,已经和我一样,早已有了胡子了。
ฉันก็รู้วิธีชดเชยข้อบ่กพร่องเหมือนกัน ให้ว่าวแก่เค้า สนับสนุนให้เค้าเล่น ยุให้เค้าเล่น ฉันกับเค้าเล่นว่าวด้วยกัน เราทั้งร้อง ทั้งวิ่ง และหัวร่อกัน— ทว่าเวลานั้น เค้าก็เหมือนฉันนั้นแหละ ต่างมีหนวดเครามานานแล้ว
3. แสดงให้รู้ถึงการเสริมความหมาย เช่น
思维活动的形式是:概念 — 判断 — 推理。
รูปแบบการคิดคือ มโนภาพ — วินิจฉัย — อนุมาน
4. แสดงให้เห็นว่าต้องการเน้นเสียงยาว เช่น
“呜— 呜—” 气笛声响遍了海港。
“หวูด....หวูด...” เสียงหวูดดังไปทั่วท่าเรือ
5. แสดงให้รู้ช่วงเวลาหรือระยะทางระหว่างสถานที่ เช่น
杜甫 (公元712—770年)
ตู้ฝู่ (ค.ศ.712-770)
香港— 曼谷
ฮ่องกง — กรุงเทพฯ
อ้างอิงจาก หนังสือ “หลักไวยากรณ์จีน ฉบับศึกษาด้วยตนเอง”-อดุลย์ รัตนมั่นเกษม