วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 www.jiewfudao.com

หลังจากเฉาเชา(曹操)ได้รวมภาคเหนือของจีนเข้าด้วยกันแล้ว ผู้ที่สามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อเขาก็เหลือแต่ซุนฉวน(孙权)ที่อยู่แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง(长江) กับหลิวเป้ย(刘备)ที่อยู่แถบมณฑลหูเป่ย(湖北)

เฉาเชา(曹操) หลิวเป้ย(刘备)

ซุนฉวน(孙权) จูเก่อเลี่ยง(诸葛亮)
ปี ค.ศ.208 เฉาเชานำกองทัพ 2 แสนคน (กล่าวกันว่ามี 8 แสนคน) เดินทัพไปสู่ทางใต้ หลิวเป้ยถอนตัวไปที่เมืองอู่ชาง(武昌) มณฑลหูเป่ย ขณะนั้น เขามีกองทัพเพียง 2 หมื่นกว่าคน จากการเสนอแนะของจูเก่อเลี่ยง(诸葛亮) หลิวเป้ยตัดสินใจที่จะร่วมมือกับซุนฉวนและต่อสู้กับเฉาเชาด้วยกัน จูเก่อเลี่ยงชี้ให้ซุนฉวนรู้ว่า จำนวนทหารของเฉาเชาถึงแม้มีจำนวนมากมาย แต่กองทัพหลักเป็นทหารของเมืองจิงโจว(荆州)ที่ได้ยอมจำนนแก่เฉาเชาจำนวน 7-8หมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นทหารเรือ(水军) พวกเขาไม่ค่อยซื่อสัตย์ต่อเฉาเชา ส่วนทหารของเฉาเชาที่มาจากภาคเหนือ ไม่เคยชินกับสงครามบนเรือ(水战) บางคนยังเจ็บป่วยเนื่องจากเดินทางไกล การวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้ซุนฉวนเข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้ จึงยอมส่งแม่ทัพโจวอวี๋(周瑜)นำกองทัพ 3 หมื่นคนไปสู้พร้อมกับหลิวเป้ย

โจวอวี๋(周瑜) หวงไก้(黄盖)
กองทัพของเฉาเชาที่ประจำที่ชื่อปี้(เมืองชื่อปี้(赤壁) มณฑลหูเป่ย หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเจียหยู(嘉鱼) มณฑลหูเป่ยในปัจจุบัน) เฉาเชาสั่งให้ใช้สายโซ่เชื่อมเรือทั้งหมด เพื่อให้ทหารจากภาคเหนือสามารถเดินทางบนแม่น้ำได้ จูเก่อเลี่ยงจึงตัดสินใจใช้ยุทธวิธีการวางเพลิง(火攻) ถึงเวลากลางคืน ลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ โจวอวี๋สั่งให้หวงไก้(黄盖) ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา ทำเป็นยอมจำนนแก่เฉาเชา หวงไก้ได้นำเรือรบ 10 ลำ ซึ่งบนเรือบรรทุกน้ำมันกับฟืนและหญ้าแห้ง เดินทางไปสู่กองทัพเฉาเชา เมื่อใกล้จะถึงกองทัพเฉาเชา เรือ 10 ลำ วางเพลิงพร้อมกัน เรือที่ไฟไหม้ได้ลอยไปยังเรือรบของเฉาเชาตามลม เรือรบของเฉาเชาเกิดไฟไหม้ทันที เนื่องจากสายโซ่เชื่อมโยงกัน เพลิงยังขยายขึ้นไปบนฝั่งแม่น้ำ ทำให้กองทัพของเฉาเชาได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

เฉาพี(曹丕) ฮั่นเซี่ยนตี้(汉献帝)
หลังสงครามชื่อปี้ สถานการณ์ทั่วประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลง เฉาเชาถอนตัวกลับภาคเหนือ หลังจากเฉาเชาสิ้นชีวิตไป บุตรชายของเค้านามเฉาพี(曹丕)ได้ยึดอำนาจจากฮั่นเซี่ยนตี้(汉献帝) และสถาปนาก๊กเว่ย(魏)ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.220 โดยเมืองหลวงอยู่ที่เมืองลั่วหยาง(洛阳) หลิวเป้ยฉวยโอกาสนี้ยึดครองแผ่นดินส่วนใหญ่ของเมืองจิงโจว แล้วขยายไปสู่ทิศตะวันตกอีก เมื่อปีค.ศ.221 ก็ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ สถาปนาก๊กสู่(蜀)ขึ้น เมืองหลวงอยู่ที่เมืองเฉิงตู(成都) ส่วนซุนฉวนขยายเขตอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนกลางและตอนล่างให้มั่นคงยิ่งขึ้น และสถาปนาก๊กอู๋(吴)ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.222 ตั้งเมืองเจี้ยนเย่(建业) (เมืองหนานจิง(南京)ในปัจจุบัน) เป็นเมืองหลวง สถานการณ์ที่ก๊กสามก๊กดุลอำนาจสามเส้าจนถึงปี ค.ศ.280 ราชวงศ์จิ้นพิชิตก๊กอู๋ได้สำเร็จจึงถือว่าสิ้นสุดลง
อ้างอิงจาก
· หนังสือ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ประเทศจีน (中国历史常识)” – The Overseas Chinese Affairs Office of the State Council / The Office of Chinese Language Council International. – สำนักพิมพ์สุขภาพใจ