วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 www.jiewfudao.com

บ่ายแก่ ๆ วันหนึ่งพี่จิ๋วเปิดเว็บไซต์อ่านเจอบทความที่น่าสนใจ กล่าวไว้ว่า “การทำความสะอาดช่อง ปากของคนไทยสมัยอดีต ที่ยังไม่มีแปรงสีฟันแบบทุกวันนี้ มักอาศัยการกินหมาก หรือใช้ไม้ข่อยมาทำแปรงสีฟัน โดยการทุบให้เนื้อไม้ เหลือแต่เส้นใยละเอียดจนฟูแล้วนำมาถูทำความสะอาดฟัน”
ด้วยพี่จิ๋วมีความรู้ด้านภาษาจีน ประเทศจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี จึงอยากรู้ว่า แล้วชาวจีนโบราณเค้าดูแลช่องปากกันอย่างไร ว่าแล้วก็ไม่นิ่งนอนใจ จึงลงมือหาความรู้นี้เพื่อเผยแพร่ทันที
วิธีทำความสะอาดในช่องปากของชาวจีนโบราณมีตั้งแต่แค่ล้างปากหรือกลั้วปาก ใช้นิ้วมือตนเองถูฟัน เช็ดฟันด้วยผ้า และใช้อุปกรณ์ช่วยในการขัดฟัน
อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันของชาวจีนที่เก่าแก่ที่สุดคือใช้ก้านต้นหลิว(杨柳枝) ขัดฟัน
ก้านใบต้นหลิว(杨柳枝)
ช่วงปลายราชวงศ์ถัง(ปี ค.ศ.618-907) ชาวจีนจะนำก้านต้นหลิวแช่ในน้ำ เวลาจะใช้ ให้ใช้ฟันเคี้ยวปลายก้าน ต้นหลิว ไฟเบอร์ที่อยู่ในใบต้นหลิวก็จะออกมา จะเหมือนกับขนแปรงไม้ซี่เล็ก ๆ จัดว่าเป็นแปรงสีฟันที่สะดวกเป็น อย่างมากในสมัย นั้น มีคำพูดของชาวจีนโบราณว่า “ตอนเช้าใช้ฟันเคี้ยวไม้ 晨嚼齿木” ก็มาจากที่มานี้เอง
แปรงสีฟันที่ทำจากก้านต้นหลิวนิยมใช้กันในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง - เป่ยซ่ง(ค.ศ.618-1126)
จากสมุดบันทึกโบราณ เมื่อถึงสมัยหนานซ่ง(ปีค.ศ.1127-1279)เริ่มมีร้านขายแปรงสีฟันในเมือง แปรงสีฟันในช่วงเวลานั้น ตัวด้ามจะใช้วัตถุดิบที่ทำจากกระดูกสัตว์ เขาสัตว์ ไม้ไผ่ ไม้ เป็นต้น ส่วนของขนแปรงทำจากขนหางม้า ลักษณะจะใกล้เคียงกับแปรงสีฟันในปัจจุบัน

แปรงสีฟันสมัยเป่ยซ่ง(ปีค.ศ.960-1127)

แปรงสีฟันสมัยหนานซ่ง(ปีค.ศ.1127-1279)
เมื่อมีอุปกรณ์ช่วยในการทำความสะอาดซอกฟัน ชาวจีนโบราณก็มีการคิดค้นในส่วนของ วัตถุดิบที่ทำหน้าที่คล้ายยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก ด้วยเช่นกัน อาทิ
@ โม่วัตถุดิบให้เป็นผง สมัยราชวงศ์ฉิน (221-207ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีการนำอิฐมาโม่จน เป็นผง สมัยราชวงศ์ฮั่น (202ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ.220) มีบันทึกไว้ว่ามีการนำกระเบื้อง และกระดูกสัตว์ต่าง ๆ มาโม่จนเป็นผงขัดฟัน เรื่อยมาจนสมัยราชวงศ์ซ่ง(ปี ค.ศ.960-1279) ได้นำสมุนไพรโป่งรากสน(茯苓)มาต้มทำยาสีฟัน

สมุนไพรโป่งรากสน(茯苓)
@ เกลือ เป็นวัตถุดิบที่พบเห็นผู้คนชาวจีนโบราณใช้กันบ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเกลือเม็ดหรือ เกลือสมุทร สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด วิธีใช้มีตั้งแต่นำมาผสมน้ำเพื่อกลั้วปาก (สมัยราชวงศ์ถัง มีการนำเกลือมาผสมกับน้ำและน้ำตาลเพื่อลดความเค็มของเกลือ) จุ่มกับนิ้วมือตนเอง หรือจุ่มกับ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่แทนยาสีฟัน ชาวจีนมีความเชื่อว่าเกลือมีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อโรค และลดการอักเสบในช่องปาก
@ น้ำสารส้ม ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644) มีการนำน้ำสารส้มมากลั้วปาก นอกจากจะ ทำให้ช่องปากสะอาดแล้วยังสามารถรักษาโรคปากและเท้าได้อีกด้วย
@ น้ำชา วัฒนธรรมชาวจีนชอบดื่มชา และปลูกชากันเองมาตั้งแต่สมัยโบราณ น้ำชามีประโยชน์ ช่วยในการเคลือบฟัน ตอนเช้าชาวจีนจึงกลั้วปากด้วยน้ำชา และหลังรับประทานอาหารก็กลั้วปาก ทุกครั้ง ด้วยน้ำชาเข้ม ๆ เพื่อช่วยให้เศษอาหารที่ติดตามซอกฟันหลุดออก และเชื่อว่าความร้อน จากน้ำชาล้างพิษได้
ปัจจุบันนี้ ผู้คนนิยมแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง นั้นคือตอนเช้าหลังตื่นนอน และตอนเย็นก่อนเข้านอน แต่ทว่าแพทย์จีน คุณหมอ จางจิ่งเอวี่ย (张景岳)ได้ระบุไว้ในหนังสือ “จิ่งเอวีย” ไว้ว่า “หลังทานอาหารควรล้างปาก ฟันจะขาวสะอาดจนชราฟันไม่เสีย” ความหมายล้างปาก ณ ที่นี้ คือกลั้วปากหรือนัยยะหนึ่งจะหมายถึงการแปรงฟัน กล่าวคือการแปรงฟันวันละ 2 ครั้งต่อวันไม่เพียงพอ ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
เมื่อพูดถึงการทำความสะอาดในช่องปากแล้ว พี่จิ๋วก็นึกสงสัย ต่อว่าแล้วถ้าฟันผุหล่ะ
มีการบันทึกอยู่ในหนังสือ “สมุนไพรปรับปรุงใหม่ 新修本草” ได้เขียนถึงชาวจีนโบราณมีการอุดฟันตั้งแต่ สมัยราชวงศ์ถัง ด้วยส่วนผสมจากดีบุกขาว เงิน ทอง มาเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการอุดฟัน หนังสือเล่มนี้นอกจากจะให้ ความรู้ถึงการอุดฟันของชาวจีนสมัยโบราณแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงเทคนิคในการรักษาฟันของชาวจีนที่มีมาก่อน ชาติใดในโลกอีกด้วย
พี่จิ๋วหวังว่าบทความนี้จะเป็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อพี่ๆน้องๆ ชาวจิ๋วฝูเต่าได้ไม่มากก็น้อย
อ้างอิงจาก
http://www.chinanews.com/cul/2015/01-29/7015673.shtml
http://www.yogeev.com/article/37863.html
http://kewai.xiaojiaoshi.com/baike/88.html
http://whtxzs.com/%E6%9D%A8%E6%9F%B3%E6%9E%9D%E8%AF%8D%E4%B9%9D%E9%A6%96%E5%85%B6%E4%BA%8C/
http://www.zznews.cn/jiankang/system/2014/11/26/010507759.shtml
http://linglan.hk/?p=79
http://www.thaidentalmag.com/dent-stream-detail.php?type=10&id=376
http://aitupian.com/vso-%E5%8F%A4%E4%BB%A3%E7%AC%AC%E4%B8%80%E6%94%AF%E7%89%99%E5%88%B7%E5%9B%BE.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99